เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของสตรีวัยกลางคนขึ้นไปมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะแรก จนกระทั่งมีความรุนแรงมากขึ้นจึงแสดงอาการ เช่น ปวด กระดูกหัก ทำให้เกิด ความทุกข์ ทรมาน อาจพิการเสียชีวิตได้ กระดูกพรุน เป็นภาวะที่ปริมาณแร่ธาตุในกระดูกลดน้อยลง และมีความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่เป็นโครงสร้างของกระดูก ทำให้เกิดการเปราะ หักง่าย ภายหลังอุบัติเหตุ ซึ่งอาจเล็กน้อย เช่น ตกเก้าอี้ ลื่นล้ม หกล้ม บริเวณที่กระดูกหักที่พบบ่อย ได้แก่
กระดูกข้อมือหัก พบมากในสตรีวัยหมดประจำเดือนมักไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อน
กระดูกสันหลังส่วนนอก และหลังส่วนล่างหัก หรือยุบหลายปล้อง จะทำให้หลังโก่ง คด ตัวเตี้ยลงเรื่อยๆ มีอาการปวดเรื้องรังและเหนื่อยง่าย พบมากอายุประมาณ 65 ปี
กระดูกข้อสะโพกหัก มีภาวะแทรกซ้อนมาก อัตราการเสียชีวิตสูง มักพบในช่วงอายุประมาณ 80 ปี
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ที่สำคัญ ได้แก่ พันธุกรรมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ อายุเกิน 65 ปี รูปร่างผอม เล็ก สูบบุหรี่หรือดื่มสุราจัด รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ การไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสตีรอยด์ ยากันชัก เป็นเวลานาน เป็นเวลานาน
กระดูกประกอบด้วยเกลือแร่ที่สำคัญคือ แคลเซียมซึ่ง 99% อยู่ในกระดูกและฟันเป็นส่วนที่ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง โดยมีวิตามินดีช่วยในการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
โดยปกติมวลกระดูกที่ร่างกายสะสมไว้สูงสุดเมื่ออายุ 25-30 ปี จะค่อนข้างคงที่จนถึงอายุ 40 ปี จากนั้นจะลดลงค่อนข้างมากและต่อเนื่องหลังหมดประจำเดือนอันเนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน นั่นคืออัตราการสร้างกระดูกน้อยกว่าอัตราอัตราสลายกระดูก ดังนั้น จึงควร
ดูแลตนเองตั้งแต่อายุยังน้อยอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเสริมสร้างและคงไว้ซึ่งปริมาณมวลกระดูกให้มากที่สุด โดยรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอและออกกำลังกายที่เหมาะสม
การรับประทานอาหาร 5 หมู่ และมีแคลเซียมสูง
อาหารประจำวันทั่วไปของคนไทยมักอยู่ในเกณฑ์สมดุลเพียงพอในการเสริมสร้างกระดูก ที่สำคัญ คือ
โปรตีน ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ
วิตามินดี มีมากในน้ำมันตับปลา ไข่แดง ปลาทะเล ที่สำคัญคือการได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ
แร่ธาตุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัส สังกะสี แมกนีเซียม
แคลเซียม
วิตามินเค 2 ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง มีมากในถั่วหมัก,ไข่แดง,ตับ
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายวัยต่างๆ ต้องการใน 1 วัน
วัย |
อายุ |
มิลลิกรัม / วัน |
เด็ก |
4 - 8 ปี |
800 |
วัยรุ่น |
9 - 18 ปี |
1,000 |
ผู้ใหญ่ |
19 – 50 ปี |
800 |
|
50 – 64 ปี |
800 – 1,000 |
|
มากกว่า 65 ปี |
1,500 |
หญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตร |
1,200 – 1,500 |
ตัวอย่างอาหารไทย ( 100 กรัม ) ที่มีแคลเซียม ( มิลลิกรัม )
ชนิดอาหาร |
แคลเซียม |
ชนิดอาหาร |
แคลเซียม |
นมจืด 200 ซีซี |
200 |
ผงกะหรี่ |
7,254 |
โยเกิร์ต 150 ซีซี |
150 |
ปลาร้าผง |
2,392 |
นมเปรี้ยว 180 ซีซี |
106 |
กุ้งแห้งเล็ก |
2,305 |
เต้าหู้ขาวอ่อน |
250 |
กุ้งฝอย |
1,339 |
เต้าหู้เหลือง |
160 |
ปลาลิ้นหมาแห้ง |
1,913 |
ถั่วแปะยี่คั่ว |
592 |
ใบมะกรูด |
1,672 |
ถั่วเหลืองดิบ |
245 |
กะปิ |
1,565 |
ถั่วเหลืองคั่ว |
71 |
งาดำคั่ว |
1,452 |
ยอดแค |
395 |
ใบชะพลู |
601 |
ผักกะเฉด |
387 |
ใบยอ |
469 |
คะน้า |
245 |
ใบโหระพา |
336 |
ผักกาดเขียว |
108 |
ปูทะเล |
205 |
ตัวอย่างรายการอาหารของผู้ใหญ่ ( อายุ 19-50 ปี ) ที่ไม่ดื่มนม เพื่อให้ได้รับแคลเซียม 800 มิลลิกรัม
มื้อเช้า : ข้าวสวย 1 ถ้วยตวง ผักกาดจอ 1 ถ้วยตวง เต้าหู้ผัดขึ้นฉ่าย 1/3 ถ้วยตวง
มื้อกลางวัน : ข้าวเหนียวนึ่ง 3/5 ถ้วยตวง น่องไก่ย่าง 1 น่องเล็ก ไส้กรอกอีสานทอด 2 ชิ้น ส้มตำ 3/5 ถ้วยตวง ถั่วฝักยาวดิบ 1/3 ถ้วยตวง ผักบุ้งต้นแดงดิบ 1/4 ถ้วยตวง ขนุน 3 ยวงกลางหนา
มื้อเย็น : ข้าวสวย 1/5 ถ้วยตวง ยำมะเขือยาว 1/3 ถ้วยตวง แกงแค 1 ถ้วยตวง ข้าวเม่าหมี่ 1/2 ถ้วยตวง ละมุดสีดำ 2 ผลเล็ก และ 4 ผลกลางระหว่างมื้อ
ทิพวรรณ ไตรติลานันท์ (รวบรวม)
รศ.นพ. วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ (ที่ปรึกษา)