กรดยูริกในเลือดที่สูง
นอกจากจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคเกาต์ โรคนิ่ว และโรคไตอักเสบแล้ว อาจมีผลต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาหูอื้อ เสียงดังในหู และบ้านหมุนได้ โดยจะทำให้เส้นเลือดหดตัว เลือดไปเลี้ยงประสาทหูและอวัยวะทรงตัวได้น้อย จึงทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัวได้
กรดยูริก เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกาย 80% และมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป 20% กรดยูริกจะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ 67% อุจจาระ 33% การที่มีกรดยูริกในเลือดสูง เกิดจากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากกว่าปกติ หรือรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ซึ่งสารนี้จะเปลี่ยนเป็นกรดยูริกในเลือด ทำให้มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงผิดปกติ
อาหารที่มีพิวรีน สูง
• เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ตับอ่อน ไส้ ม้าม หัวใจ สมอง กึ๋น เซี่ยงจี๊
• น้ำเกรวี กะปี ยีสต์ ปลาดุก กุ้ง หอย ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ไข่ปลา
• ชะอม กระถินเห็ด
• ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่งเหลือง ถั่วดำ
• สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ห่าน
• น้ำสลัดเนื้อ ซุปก้อน
อาหารที่มีพิวรีน ปานกลาง
• เนื้อสัตว์ เช่น หมู วัว
• ปลาทุกชนิด (ยกเว้น ปลาดุก ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน)
• ปลาซาร์ดีน และอาหารทะเล เช่น ปลาหมึก ปู
• ถั่วลิสง ถั่วลันเตา
• ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ ผักโขม สะตอ ใบขี้เหล็ก
• ข้าวโอ๊ตเบียร์ เหล้าชนิดต่าง ๆ เหล้าองุ่น ไวน์ (ทำให้การขับถ่ายกรดยูริกทางปัสสาวะลดลง ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว)
อาหารที่มีพิวรีน น้อย
• ข้าวชนิดต่าง ๆ ยกเว้น ข้าวโอ๊ต
• ถั่วงอก คะน้า
• ผลไม้ชนิดต่างๆ
• ไข่
• นมสด เนย และเนยเทียม
• ขนมปัง ขนมหวาน หรือน้ำตาล ไขมันจากพืชและสัตว์
อาการของโรค
การรักษาคือการลดกรดยูริกในเลือดให้ต่ำลง ซึ่งทำได้โดยการรับประทานยาละลายผลึกกรดยูริก แล้วให้ร่างกายขับออก เมื่อกรดยูริกลดต่ำลง ก็จะเกิดการอักเสบน้อยลง
ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาอาการอักเสบเฉียบพลันแล้ว ยังเป็นการป้องกันการกลับมาสะสมใหม่ และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรค รวมถึงการเกิดปุ่มหรือก้อนผลึกกรดยูริกในเนื้อเยื่อที่เรียกว่าก้อนโทฟัส (Tophus) ซึ่งทำให้ดูไม่สวยงาม
การดูแลและป้องกันตนเอง
• พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตามนัดทุกครั้ง และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ และเน้นรับประทานโปรตีนจากผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ
• ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน ไม่ควรลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เพราะอาจเป็นการเพิ่มระดับของกรดยูริกได้
• ดื่มน้ำให้มากเพื่อขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
• นมสด เนย และเนยเทียม
• หากมีอาการปวดเฉียบพลันให้พักการใช้ข้อที่อักเสบ แล้วใช้วิธีประคบเย็นเพื่อช่วยบรรเทาอาการ
บทสรุป
สิ่งที่น่ากลัวของโรคเกาต์ คือ ภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการดูแล รักษาอย่างถูกต้องในระยะแรกจะเข้าสู่ระยะข้ออักเสบเรื้อรังได้ ดังนั้นการหันมาปฏิบัติตนให้ถูกต้องจะช่วยทำให้การควบคุมโรคเกาต์ไม่ให้กำเริบ รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนได้
นัดหมายแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำได้ที่ ศูนย์อายุรกรรมเฉพาะทางคลินิกโรคข้อและรูมาติสซั่ม อาคารพรีเมียม ชั้น 3 โทร.0-2117-4999 ต่อ 2330,2331