เทคนิคการบีบเก็บน้ำนมแม่
1. ควรล้างมือให้สะอาดก่อนการบีบและเก็บน้ำนมทุกครั้ง
2. หามุมสงบนั่งให้สบายผ่อนคลายจะช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น
3. กรณีคัดตึงเต้านมอาจประคบเต้านมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นก่อน 3-5 นาที
4. นวดเต้านมในลักษณะเป็นวงกลมจากฐานนมเข้าหาเต้านม และคลึงเบาๆ เพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
5. การบีบน้ำนม ใช้หัวแม่มือวางบนลานหัวนมด้านบน ส่วนนิ้วที่เหลือ (นิ้วชี้-ก้อย) วางประคองเต้านมด้านล่าง กดนิ้วเข้าหาทรวงอกก่อนแล้วค่อย ๆ บีบปลายนิ้วเข้าหากัน น้ำนมแม่จะไหลออกมา
6. ทำซ้ำใหม่ กด-บีบ-ปล่อยจังหวะช้า ๆ (อาจบีบน้ำนมทิ้งก่อน 2-3 หยด เพื่อชะล้างรูเปิดของน้ำนม)
7. ใช้เวลาบีบแต่ละข้างนาน ข้างละประมาณ 5-10 นาที
"การบีบน้ำนมด้วยมือ หากทำอย่างนุ่มนวลถูกวิธีแล้ว แม่จะไม่เจ็บและน้ำนมออกดี ควรทำอย่างน้อยทุก 3 ชั่วโมง"
ระยะเวลาการเก็บรักษานมแม่
การนำน้ำนมที่แช่เย็นมาใช้
หลักการนำไปใช้ คือ เลือกให้นมที่สดใหม่ก่อนเสมอ หากไม่สามารถให้ได้ ควรให้นมที่แช่เย็นในช่องธรรมดาของตู้เย็นก่อน จากนั้นจึงให้นมที่แช่แข็ง เพื่อให้ลูกได้ประโยชน์จากนมแม่มากที่สุด
1. นำน้ำนมที่เก็บช่องธรรมดามาวางนอกตู้เย็น เพื่อให้หายเย็น
2. ห้ามอุ่นในน้ำร้อนจัดหรือเข้าไมโครเวฟ เพราะสารอาหารในน้ำนมจะเสียไป
3. นมในช่องแช่แข็ง ให้นำมาไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา 1 คืนให้ละลายตัว และก่อนให้เด็กดื่มนำมาวางนอกตู้เย็นให้หายเย็นก่อนให้เด็กดื่ม
4. น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้วไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีกถ้าไม่ได้ใช้ วางที่อุณหภูมิห้องได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ถ้าเกินให้ทิ้งทันที ห้ามเก็บไว้กินต่อ
5. ในกรณีที่ไม่ใช้มือในการบีบน้ำนม จะใช้ที่ปั๊มน้ำนมก็ได้ แต่ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังปั๊มน้ำนม
มหัศจรรย์น้ำนมแม่
คอลอสตรัม คือ น้ำนมใสเหลือง ซึ่งมีในน้ำนมแม่ระยะแรก ๆ หรือเรียกอีกอย่างว่าหัวน้ำนมจะมีภูมิคุ้มกันสูง ช่วยขับถ่ายขี้เทา และทำให้ลูกตัวหายเหลือง
สิ่งที่ลูกได้รับจากการได้นมแม่
ลดการเกิดโรคภูมิแพ้ ลดอาการท้องร่วง ทำให้บุตรมีภูมิคุ้มกัน ย่อยง่าย ได้สารอาหารครบถ้วน มีสัดส่วนสารอาหารที่เหมาะสม ส่งเสริมพัฒนาการ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อปาก
สิ่งที่แม่ได้รับจากการให้นมลูก
หลังกินนมอิ่ม จับเด็กเรอ 1 รอบ เพื่อจะได้ไม่อึดอัด การจับเด็กเรอทำได้หลายวิธี คือ อุ้มเด็กพาดบ่าและศีรษะวางบนไหล่ ตะแคงหน้าออกจากตัวมารดาหรือผู้อุ้ม ลูบหลังเบาๆ จะช่วยไล่ลมที่เด็กดูดเข้าไปออกมาได้ และควรหาผ้าพาดบ่าก่อนทุกครั้ง เนื่องจากเด็กอาจสำรอกนมออกมาได้
การทำให้เรอหลังกินนม
หลังกินนมอิ่ม จับเด็กเรอ 1 รอบ เพื่อจะได้ไม่อึดอัด การจับเด็กเรอทำได้หลายวิธี คือ อุ้มเด็กพาดบ่าและศีรษะวางบนไหล่ ตะแคงหน้าออกจากตัวมารดาหรือผู้อุ้ม ลูบหลังเบาๆ จะช่วยไล่ลมที่เด็กดูดเข้าไปออกมาได้ และควรหาผ้าพาดบ่าก่อนทุกครั้ง เนื่องจากเด็กอาจสำรอกนมออกมาได้
น้ำดื่มสำหรับเด็ก
ในกรณีกินนมผสม เด็กจะรับน้ำพร้อมกับนมที่กิน ถ้าเด็กกินนมได้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ นอกจากกินตามหลังจากกินนม 2-3 อึกเพื่อล้างคราบนมในปาก
ในกรณีกินนมแม่ ไม่จำเป็นต้องกินน้ำตามหลังกินนม ให้รับประทานนมอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก
บทสรุป
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา ดังนั้น ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับบีบเก็บน้ำนมให้คงคุณค่าทางโภชนาการต่อลูกน้อยอยู่เสมอ
นัดหมายแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำได้ที่ คลินิกสุภาพสตรี (สูตินรีเวช) อาคารพรีเมียม โรงพยาบาลมหาชัย 2 โทร.0-2117-4999 ต่อ 2266, 2267