การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงวัยต่างจากคนทั่วไปอย่างไร
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อย มีการระบาดตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน อาการโดยทั่วไป ได้แก่ ไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจะสามารถหายเองได้ในเวลา 3-5 วัน แต่ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นต้องนอนในโรงพยาบาลและใช้เวลาพักฟื้นนานมากกว่าคนปกติ
สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ได้แก่
• ภาวะภูมิคุ้มกันลดลง (Immunosenescence) ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไปอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อราหรือไวรัสก็ตาม เพราะผู้สูงอายุนั้นจะมีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะภูมิคุ้มกันลดลง ในภาวะที่ร่างกายมีความเสื่อมถอยและสูญเสียความสมดุล ก็จะเกิดการอักเสบรุนแรง (ซึ่งเป็นกระบวนการของระบบภูมิคุ้มกัน) ที่เกิดขึ้นจนไม่สามารถยับยั้งได้และอาจทำให้เสียชีวิต
• โรคประจำตัว รักษาไม่หายขาด (Underlying disease) ผู้สูงอายุและผู้ที่ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคเบาหวานและโรคมะเร็ง หากพบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อปอดอักเสบ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
• ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอของผู้สูงอายุ (Frailty) ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรค 23 % ของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พบว่าจะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน จำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้ง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลยังไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมได้ตามปกติภายใน 1 ปี
ไข้หวัดใหญ่ร้ายแรงในผู้สูงอายุอย่างไร
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกาย นอกเหนือจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดังต่อไปนี้
• เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบ มากกว่าคนทั่วไป 8 เท่า
• เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดตีบที่หัวใจ มากกว่าคนทั่วไป 10 เท่า
• 75% ของผู้ป่วยเบาหวานจะมีปัญหาต่อระดับน้ำตาลที่ผิดปกติ
• 23% จะสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเองหลังเจ็บป่วยไข้หวัดใหญ่
ด้วยสาเหตุและผลกระทบดังกล่าวจึงมีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด High Dose สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามมาหลังการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มผู้สูงวัยโดยเฉพาะ
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ชนิด High Dose
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ชนิด High Dose เป็นวัคซีนที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป สามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น ช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยวัคซีนมีคุณสมบัติดังนี้
• มีปริมาณแอนติเจนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มสูงขึ้นถึง 4 เท่า (เมื่อเทียบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ แบบปกติ)
• มีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นจากขนาดปกติ ถึง 24%
• ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจาก...
• โรคปอดอักเสบ เพิ่มขึ้น 27.3%
• โรคหัวใจและระบบหายใจ เพิ่มขึ้น 17.9%
• โรคไข้หวัดใหญ่ เพิ่มขึ้น 11.7%
• สาเหตุที่เกี่ยวกับการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ เพิ่มขึ้น 8.4%
ฉีดกี่เข็ม ?
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด High Dose สำหรับผู้สูงวัย (อายุ 65 ปีขึ้นไป) ควรฉีด 1 เข็มต่อปี
อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน
วัคซีนที่ใช้มีความปลอดภัยสูง อาจพบอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน คือ อาการปวดบริเวณที่ฉีด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และรู้สึกไม่สบาย โดยอาการจะหายไปในระยะเวลา 2 – 3 วัน หลังการฉีดวัคซีน
มอบการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้ผู้สูงอายุ เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคอย่างตรงจุด
เข้ารับบริการฉีดวัคซีน หรือ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2117-4999
- ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 1 ต่อ 2120
- ศูนย์อายุรกรรมเฉพาะทาง ชั้น 3 ต่อ 2330