ไข้เลือดออกใกล้ตัวกว่าที่คิด
โรคระบาดร้ายแรงประจำถิ่นของประเทศไทย มียุงลายเป็นพาหะของเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus: DENV) มีการระบาดตลอดทั้งปี
โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ซึ่งมีการระบาดหนักในทุก 2-5 ปี ในปี 2566 นี้ เป็นปีที่มีการระบาดหนัก จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก
ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรวมแล้ว 73,979 ราย เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว 76 ราย ซึ่งจำนวนผู้ป่วย (ปี 2566)
มากกว่าปีที่แล้ว (ปี 2565) ณ ช่วงเวลาเดียวกัน 3.3 เท่า
โรคไข้เลือดออกเสี่ยงเป็นได้ทุกวัยไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้ที่ร่างกายแข็งแรงหรือมีโรคประจำตัว
กลุ่มอายุที่ป่วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดอันดับ 1 อยู่ที่ช่วงอายุ 5 - 14 ปี รองลงมา 15 -24 ปี
โดยพบว่าในช่วงวัยทำงาน 25-34 ปีแนวโน้มป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นและมีอัตราป่วยตายมากที่สุด
อาการโรคไข้เลือดออก แบ่งเป็น 3 ระยะคือ
ระยะไข้ มีไข้สูงลอย (ไข้ตั้งแต่ 38.5 °C ขึ้นไป) หน้าแดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เด็กโตและผู้ใหญ่มักมีไข้นานกว่าเด็กเล็ก และมักมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างมาก
ระยะที่ 2 หรือระยะวิกฤติ ระยะนี้อาการไข้จะลดลง
1. การตรวจนับเม็ดเลือดควรทำในวันที่ 3 ของโรคเป็นต้นไป จึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง (เม็ดเลือดขาวลดลง, เกล็ดเลือดลดลง, ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นถ้ามีการรั่วของพลาสมา)
2. ตรวจหาแอนติเจน หรือโปรตีนจากเชื้อไวรัสเดงกี โดยการตรวจ NSI-แอนติเจน จะมีผลบวกตั้งแต่วันแรกๆ ของไข้ มีความไวและความจำเพาะสูง
1. หลีกเลี่ยงการถูกยุงลายกัด นอนในห้องที่ติดมุ้งลวด, ใช้มุ้งกันยุง, ใช้ยาทากันยุง
2. การปราบยุงลาย ฉีดยาฆ่ายุง, หน่วยงานราชการนิยมใช้วิธีพ่นสารเคมี
3. การกำจัดลูกน้ำยุงลาย สำรวจภาชนะในบ้านที่มีน้ำขัง กระป๋อง, กะลา, จานรองกระถางต้นไม้, ตุ่มโอ่งที่ไม่มีฝาปิด เปลี่ยนน้ำในภาชนะบ่อยๆ คว่ำภาชนะและปิดฝาตุ่ม อาจใส่เกลือผสมน้ำส้มสายชูหรือทรายอะเบทในภาชนะ หรือเลี้ยงปลาหางนกยูง
4. หมั่นสังเกตตัวเองและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
5. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกชนิดใหม่ (Live Attenuated dengue2- dengue vaccine) ที่สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงขึ้นได้
ผลิตที่ประเทศเยอรมนี เป็นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกเดงกีชนิด 4 สายพันธุ์ (ชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ มีแกนหลักเป็นไวรัสเดงกีสายพันธุ์ที่ 2) ฉีดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 4 - 60 ปี สามารถฉีดได้ทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน โดยไม่ต้องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด ฉีดเพียง 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน (0 และ 3) สำหรับผู้ที่เพิ่งติดเชื้อไข้เดงกีหรือเพิ่งหายจากการติดเชื้อ ควรเว้นระยะห่าง 6 เดือนก่อนฉีด มีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้เลือดออกจากทุกสายพันธุ์ 80.2 % ลดการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 90.4% หลังฉีดครบ 2 เข็ม โดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยได้แนะนำการฉีดวัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่ (Live-attenuated recombinant dengue2-dengue vaccine) ไว้ในตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยใน ปี พ.ศ. 2566
วัคซีนโรคไข้เลือดออกชนิดใหม่มีความปลอดภัย หลังฉีดวัคซีนอาจมีอาการปวดแขนตรงบริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นอาการทั่วไปที่พบได้หลังฉีดวัคซีนและส่วนมากมักหายเองได้ ภายใน 1-3 วัน
1. หากมีโรคประจำตัวอยู่ในระยะกำเริบหรือคุมอาการไม่ได้ ควรเลื่อนการรับวัคซีนออกไปจนกว่าอาการจะเป็นปกติ
2. สตรีที่มีการวางแผนตั้งครรภ์ ควรคุมกำเนิดต่อไปอีก 1 เดือนหลังจากรับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว
3. ผู้ที่เพิ่งหายป่วยจากไข้เลือดออก สามารถฉีดวัคซีนหลังติดเชื้อไปแล้ว 6 เดือน เพื่อป้องกันการติดเชื้อครั้งต่อไปที่มักมีอาการรุนแรงขึ้น
4. หากป่วยไม่สบาย ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน
1. มีภาวะภูมิไวเกินต่อตัวยาสำคัญหรือสารเพิ่มปริมาณยาชนิดใดๆ หรือมีภาวะภูมิไวเกินต่อวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกที่ฉีดไปก่อนหน้านี้
2. ผู้ที่มีภาวะการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันผ่านเซลล์บกพร่องมาแต่กำเนิดหรือในภายหลัง รวมถึงผู้ที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยการกดภูมิคุ้มกัน เช่น ได้รับเคมีบำบัด หรือ คอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ทั่วร่างกายที่ขนาดยาสูง ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ ก่อนการได้รับวัคซีน
3. ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแบบแสดงอาการ หรือผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแบบไม่แสดงอาการที่มีหลักฐานแสดงถึงการทำงานของภูมิคุ้มกันบกพร่อง
4. หญิงตั้งครรภ์ หากรับวัคซีนแล้วแต่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์ภายหลัง ยังไม่มีข้อมูลผลกระทบที่เป็นอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่แนะนำให้ตรวจติดตามและดูแลโดยสูตินรีแพทย์อย่างต่อเนื่อง
5. หญิงให้นมบุตร เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลความปลอดภัยยังไม่เพียงพอ จึงควรเลื่อนรับวัคซีนออกไปก่อน
โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี และทุกๆช่วงวัยมีความเสี่ยงโดยเฉพาะการติดเชื้อไข้เลือดออกครั้งที่ 2 ในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ การป้องกันยุงกัดและการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านเป็นวิธีการที่สำคัญที่สุดในการควบคุมโรค หากพบว่าตนเองป่วยมีไข้สูง การเจ็บป่วยครั้งนี้รุนแรงไม่เหมือนกับที่เคยเป็น รับประทานยาพาราเซตามอลแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรสงสัยว่า ป่วยเป็นไข้เลือดออกหรือมีอาการเตือนดังกล่าว ให้รีบพบแพทย์
เด็ก อายุ 4 - 14 ปี นัดหมายเข้ารับบริการได้ที่คลินิกสุขภาพเด็กดี (Well Baby Clinic ศูนย์กุมารเวช 24 ชั่วโมง ชั้น 2 อาคารพรีเมียม เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00 - 22.00 น. โทร. 0-2117-4999 , 0-2431-0054 ต่อ 2200)
ผู้ใหญ่ อายุ 15 ปีขึ้นไป นัดหมายเข้ารับบริการได้ที่ศูนย์อายุรกรรมเที่ยงคืน ชั้น 1 อาคารพรีเมียม เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00 - 00.00 น. โทร. 0-2117-4999 , 0-2431-0054 ต่อ 2138, 2120