ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโรคกระเพาะอาหารตามความเข้าใจของประชาชนทั่วไปมักหมายถึงมีแผลที่กระเพาะอาหาร แต่ในความหมายของแพทย์มีความหมายมากกว่าแผลที่กระเพาะอาหาร ในที่นี้ขอกล่าวถึงโรคกระเพาะอาหารที่หมายถึงการมีแผลทีกระเพาะอาหารหรือแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
หลายคนอาจเกิดคำถามมากมายหลังรู้ว่าตนเองเป็นโรคกระเพาะอาทิ ทานอะไรได้บ้าง อะไรทำให้เกิดแผล และอื่นๆมากมาย ต่อไปนี้เป็นคำถามที่ผู้ป่วยมักถามหมอบ่อยๆ ว่าต้องทานอาหารอย่างไรเมื่อเป็นโรคกระเพาะ ?
ต้องเข้าใจก่อนว่าอาหารไม่ได้ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารแต่ที่แพทย์แนะนำระวังอาหารบางประเภทเพราะอาหารบางประเภทจะกระตุ้นให้เกิดอาการไม่สบายท้องหลังรับประทานอาหาร อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ อาหารรสจัดโดยเฉพาะรสเผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัด ของมันน้ำอัดลม เป็นต้น และควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ที่มักเป็นความเชื่อของผู้ป่วยมักหลีกเลี่ยงทานอาหารแข็ง เช่นข้าวสวยจึงมักทานแต่ข้าวต้มทั้งที่จริงแล้วข้าวสวยหรือข้าวต้มไม่ได้ทำให้อาหารปวดท้องเป็นมากขึ้น
ควรหลีกเลี่ยงยาอะไรบ้างเมื่อเป็นโรคกระเพาะ ?
ยาที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างมากเมื่อเป็นโรคกระเพาะคือ ยารักษาโรคแก้ยอกแก้ปวดกระดูกปวดข้อ (ยาในกลุ่ม NSAID) ถ้ามีอาการปวดหรือมีไข้ยาที่แนะนำคือยาพาราเซตามอล ที่สามารถรับประทานได้ขณะเป็นโรคกระเพาะซึ่งยาพาราเซตามอลไม่ได้ทำให้กระเพาะอักเสบหรือเป็นแล ส่วนยาแอสไพรินซึ่งปัจจุบันมีการใช้กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ แนะนำว่าถ้าทานแอสไพรินโดยไม่ได้มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือเส้นเลือดสมองตีบควรหยุดระหว่างรักษาโรคกระเพาะอาหาร
แพทย์รักษาโรคกระเพาะนานเท่าใด ?
ตรงนี้ขึ้นอยู่กับแผลที่เกิดขึ้นว่าบริเวณใด กล่าวคือ
โรคแผลที่กระเพาะอาหารระยะเวลาที่ใช้ในการรักษานาน 10-12 สัปดาห์
โรคแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นระยะเวลาที่ใช้ในการรักษานาน 6-8 สัปดาห์
ผู้เป็นโรคกระเพาะหลายรายมักทานยารักษาไม่ครบ เพราะมักคิดว่าอาการหายแล้วก็ไม่มารับยาทานต่อให้ครบ ต้องขอบอกให้ทราบว่าอาการกับการหายของแผลอาจไม่ได้ไปด้วยกันได้ กล่าวคือไม่มีอาการแต่ยังคงมีอาการแต่แผลอาจหายแล้ว ดังนั้นการทานยาครบระยะเวลาที่กำหนดจะทำให้มั่นใจว่าแผลหายมากขึ้น
ถ้ามีติดเชื้อที่กระเพาะอาหารต้องทำอย่างไร ?
ปัจจุบันทราบว่าเชื้อเฮริโคแบทเตอร์ ไพโรไล เป็นสาเหตุให้เกดแผลของโรคกระเพาะ สิ่งที่สำคัญคือควรทานยารักษาตามที่แพทย์ให้มาให้ครบเพราะมีผลต่อการหายและการกลับมาเป็นซ้ำของโรค หลายท่านกังวลว้าจะทานอาหารกับครอบครัวอย่างไร แนะนำว่าสามารถรับประทานอาหารร่วมกับคนในครอบครัวได้โดยไม่ต้องแยกภาชนะ ควรใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร
สิ่งที่ไม่ควรพลาดในผู้ป่วยโรคกระเพาะ ?
ในผู้ป่วยโรคกระเพาะโดยเฉพาะผู้ที่แพทย์แจ้งว่ามีแผลที่กระเพาะอาหารควรติดตามการหายของแผลโดยการส่องทางเดินอาหารวิดีทัศน์โดยแพทย์มักนัดผู้ป่วยมาส่องกล้องซ้ำหลังการรักษา 8-12 สัปดาห์ เพื่อยืนยันการหายของแพทย์ เนื่องจากแผลที่กระเพาะอาหารมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูง ดังนั้นเพื่อยืนยันว่าแผลที่กระเพาะไม่ได้เป็นแผลมะเร็งแพทย์มีความจำเป็นที่ต้องเห็นภาพหลายแผล และบางครั้งอาจจำเป็นต้องเอาชิ้นเนื้อกระเพาะมาตรวจพยาธิซึ่งผู้ป่วยหลายรายไม่อยากส่องกล้องซ้ำอาจเพราะคิดว่าไม่มีอาการแล้วจึงไม่อยากส่องกล้องดังที่กล่าวข้างต้นว่าอาการหายของแผลอาจไม่สัมพันธ์กัน หรือกลัวการส่องกล้อง