ตับอักเสบ เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ ทำให้การทำงานของตับผิดปกติ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ปัจจุบันมีเชื้อไวรัสตับอักเสบที่สำคัญ 5 ชนิด คือ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี ทำให้เกิดตับอักเสบแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังได้ ในประเทศไทยส่วนใหญ่พบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด เอ บี ซี และอี
การติดต่อ แบ่งตามชนิดของไวรัส
ไวรัสตับอักเสบเอและอี |
ไวรัสตับอักเสบบีและซี |
• อาหารและน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค |
• การได้รับเลือด / ส่วนประกอบของเลือด เช่น เกล็ดเลือด พลาสมา ก่อนปี 2533 |
|
• มารดาที่มีเชื้อไวรัสสู่ทารกระหว่างคลอด |
|
• เพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาง |
|
• ใช้สารเสพติดชนิดฉีด |
|
• เจาะหู สักร่างกาย ฝังเข็ม ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ |
|
• ใช้ของมีคมร่วมกัน เช่น กรรไกร / มีดโกนหนวด |
อาการ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะเฉียบพลันและระยะเรื้อรัง ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี จะมีภาวะติดเชื้อระยะเรื้อรัง
หากมีเชื้ออยู่ในร่างกายนานกว่า 6 เดือน
ระยะเฉียบพลัน
• มีไข้ ปวดข้อ
• ตัวเหลืองตาเหลือง
• คลื่นไส้ อาเจียน
• ปวดท้องใต้ชายโครงขวา
• ตรวจพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
ระยะเรื้อรัง แบ่งได้ 2 กลุ่ม
1. กลุ่มพาหะ มีเชื้อไวรัสในร่างกายแต่ไม่แสดงอาการ สามารถแพร่เชื้อไวรัวสู่ผู้อื่นได้
2. กลุ่มตับอักเสบเรื้อรัง มีเชื้อไวรัสในร่างกาย ตรวจพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้
การตรวจวินิจฉัย
ตรวจเลือดหาการติดเชื้อไวรัส
• ไวรัสตับอักเสบ เอ : ตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบเอ ( Anti HAV IgM / IgG)
• ไวรัสตับอักเสบ บี : ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBs Ag), ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี (Anti HBs)
• ไวรัสตับอักเสบ ซี : ตรวจเลือดหาการเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ( Anti HCV)
• ไวรัสตับอักเสบ อี : ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบอี (Anti HEV IgM)
การรักษา
ระยะเฉียบพลัน : รักษาตามอาการ
ระยะเรื้อรัง : รักษาด้วยการรับประทานยาต้านไวรัส เพื่อยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสและยาฉีดเพคอินเตอร์เฟอรอน ในการกระตุ้นสร้างภูมิคุ้ม
การป้องกัน
• รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด
• ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอและอี
• มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย / ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน
• หลีกเลี่ยงการเจาะ สักร่างกาย ใช้ของมีคมร่วมกัน เช่น กรรไกรตัดเล็บ มีดโกนหนวด
• หลีกเลี่ยงสารอัลฟาทอกซิล ตัวก่อมะเร็งตับ มีอยู่ในอาหารแห้ง เช่น ปลาแห้ง กุ้งแห้ง ถั่วป่น พริกป่น ที่เก็บไว้เป็นเวลานาน
• ไม่กินปลาดิบน้ำจืดที่มีเกร็ด เช่นปลาตะเพียน ปลาขาว ปลาซิว ปลาสร้อย เพราะอาจมีพยาธิใบไม้ในตับ ก่อมะเร็งท่อน้ำดี
• ควบคุมน้ำหนัก ไม่ปล่อยให้อ้วนลงพุง
• หากสงสัยว่ามีบุคคลในครอบครัวติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ควรตรวจหาเชื้อไวรัสและพบแพทย์เฉพาะทาง
• ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบี
• ก่อนแต่งงานหรือวางแผนตั้งครรภ์ควรตรวจหาเชื้อไวรัสพร้อมคู่สมรส
• ตรวจสุขภาพตับเป็นประจำทุกปี
การป้องกันตนเองโดยดูแลสุขภาพตนเองและหลีกเลียงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรค เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณมีสุขภาพดีห่างไกลโรค