1. เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการเปรียบเทียบสุขภาพกระดูกครั้งต่อไป
2. เพื่อเฝ้าระวังโรคในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือ ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง
ผู้ที่มีกระดูกหัก โดยเฉพาะหักบริเวณ ข้อมือ หัวไหล่ สันหลัง สะโพก และ ส้นเท้า
ผู้สูงอายุที่กระดูกสันหลังผิดปกติ เช่น หลังโก่ง หลังคด ความสูงลดลงมากกว่า 1.5 นิ้ว
ผู้ป่วยโรค ไตวาย เบาหวาน รูมาตอยด์ ไทรอยด์ พิษสุราเรื้อรัง ธาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง
ผู้ที่รับประทานยาเป็นเวลานาน ได้แก่ ยาสเตียรอยด์ ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาขับปัสสาวะ
ผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกสะโพกหัก
ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ดื่มกาแฟ มากกว่า 4 แก้วต่อวัน หรือดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 1 ลิตรต่อวัน
3. เพื่อประเมินการสูญเสียเนื้อกระดูก ความรุนแรงของโรค แนวทางการป้องกันและให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
4. ใช้ในการติดตามผลการรักษา ซึ่งควรตรวจซ้ำทุก 1 - 2 ปี