คลินิกโรคไต-ศูนย์ไตเทียม

ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตทั้งในแบบระยะสั้นและระยะยาวอย่างครบครันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต โภชนากร เภสัชกร และพยาบาลผู้ผ่านการอบรมเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมทั้งในด้านการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยชะลอการเสื่อมของไตและช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากไตเสื่อม

การตรวจวินิจฉัย

ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตและผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรได้รับการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

การตรวจเลือด

  • การตรวจเลือดเพื่อประเมินอัตราการทำงานของไต
  •     - ตรวจค่าปริมาณยูเรียไนโตรเจนในเลือด (BUN)
        - ตรวจระดับครีเอตินิน (Creatinine) และคำนวณอัตราการกรองของไตโดยประมาณ (Estimated glomerular filtration rate (EGFR) โดยคิดจากระดับ Creatinine (เป็นวิธีที่ได้มาตรฐานในการใช้ตรวจหาโรคไตเรื้อรัง หรือความผิดปกติอื่น ๆ เกี่ยวกับไต)

  • การตรวจเลือดเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคไต
  •     - ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดพร้อมอัตราส่วนของเม็ดเลือดขาว (CBC)
        - ตรวจส่วนประกอบของเกลือแร่ในร่างกาย (โซเดียม (Sodium) โพแทสเซียม (Potassium) คลอไรด์ (Chloride) แคลเซียม (Calcium) ฟอสฟอรัส (Phosphorus))
        - ตรวจปริมาณโปรตีนในเลือด (Albumin)
        - ตรวจระดับคลอเลสเตอรอล (Cholesterol)

    การตรวจปัสสาวะ

  • การตรวจปัสสาวะและตะกอนในปัสสาวะ (เพื่อตรวจหาโรคไตเรื้อรัง และบ่งบอกถึงชนิดของโรคไต)
  • การตรวจวัดสัดส่วนของการรั่วของอัลบูมิน (Albumin)ต่อครีเอตินิน (Creatinine) ในปัสสาวะ
  • การตรวจวัดสัดส่วนของการรั่วของโปรตีน (Protein) ต่อครีเอตินิน (Creatinine) ในปัสสาวะ
  • การตรวจระดับโปรตีนในปัสสาวะถือเป็นตัวบ่งชี้ปัญหาโรคไตที่สำคัญและผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับการติดตามปริมาณโปรตีนในปัสสาวะเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

  • การตรวจทางรังสีวิทยา

  • การอัลตร้าซาวด์ไต (Renal Ultrasound) เพื่อดูเรื่องของขนาดไต, โครงสร้างของไต, ท่อไต, กระเพาะปัสสาวะ
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  •     - เพื่อตรวจสอบการอุดตันในทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต
        - เพื่อประเมินขนาดของไต
        - เพื่อตรวจสอบโรคถุงน้ำในไต
        - เพื่อตรวจหาอาการอื่น ๆ อาทิ อาการหลอดเลือดแดงที่ไตตีบตัน


    การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไต

  • การชะลอการเสื่อมของไต โดยการควบคุมสาเหตุของโรคไต เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต โรคนิ่วที่ไต การสูบบุหรี่ และการควบคุมระดับโปรตีนที่รั่วออกมากับปัสสาวะ
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะโลหิตจาง ระดับเกลือแร่ในเลีอดผิดปกติ
  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ใช้วิธีการฟอกเลือดด้วยระบบน้ำที่มีความบริสุทธิ์ เป็นกระบวนการฟอกที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะนอกจากสามารถขจัดของเสียโมเลกุลขนาดเล็กได้แล้ว ยังสามารถขจัดของเสียโมเลกุลขนาดใหญ่ในร่างกาย ซึ่งการฟอกไตแบบเดิมไม่สามารถทำได้
  • การล้างไตผ่านช่องท้องรักษาโรคไตวายเรื้อรัง หลักการล้างไตวิธีนี้คือการใส่สายเข้าไปในช่องท้องแล้วใส่น้ำยาเข้าในช่องท้องเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงปล่อยออก

  • บริการด้านยา

    เภสัชกรจะทำหน้าที่ดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยโรคไต ที่มักจะต้องรับประทานยาหลายขนานพร้อม ๆ กัน โดย

  • ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวยา เช่น วิธีการรับประทาน ฤทธิ์ของยาที่มีต่อร่างกาย ผลข้างเคียงของยา รวมถึงวิธีการบรรเทาอาการข้างเคียงนั้น ๆ
  • เน้นย้ำให้ผู้ป่วยใช้ยาอย่างถูกต้อง
  • วิเคราะห์และค้นหาปัญหาเกี่ยวกับยา เช่น ปฏิกิริยาระหว่างยา การใช้ยาซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น อาการแพ้ยา ฯลฯ และร่วมมือกับแพทย์ในการบรรเทาผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น
  • ทำการตรวจทานตัวยาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจากแพทย์มากกว่าหนึ่งคน หรือมีโรคมากกว่าหนึ่งโรค


  • รายละเอียดแพทย์

    ชื่อแพทย์ :

    แพทย์หญิง นภธร มหามิตร

    ความชำนาญเฉพาะทาง :

    อายุรกรรมโรคไต
    อายุรกรรม

    คุณวุฒิ :

    วุฒิบัตรอายุรแพทย์โรคไต
    เกียรตินิยมอันดับ 1 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

    ตารางการออกตรวจแพทย์

    วัน เวลาเริ่ม เวลาสิ้นสุด สัปดาห์/เดือน
    เสาร์ 09:00 15:00 สัปดาห์ที่ 1,3,5 สัปดาห์ที่ 2,4 ออกตรวจ 08.00 - 12.00 น.

    ชื่อแพทย์ :

    แพทย์หญิง สาวิกา กีรติธารากุล

    ความชำนาญเฉพาะทาง :

    อายุรกรรมโรคไต
    อายุรกรรม

    คุณวุฒิ :

    วุฒิบัตรอายุรศาสตร์โรคไต
    แพทยศาสตร์บัณฑิต  DIVINE WORD UNIVERSITY

    ตารางการออกตรวจแพทย์

    วัน เวลาเริ่ม เวลาสิ้นสุด สัปดาห์/เดือน
    จันทร์ 09:00 18:00
    อังคาร 09:30 18:30
    พุธ 09:00 18:00
    พฤหัสบดี 10:00 19:00
    ศุกร์ 09:00 18:00

    ชื่อแพทย์ :

    แพทย์หญิง จิรารัตน์ เอี่ยมเจริญยิ่ง

    ความชำนาญเฉพาะทาง :

    อายุรกรรมโรคไต
    อายุรกรรม

    คุณวุฒิ :

    วุฒิบัตรอายุรแพทย์โรคไต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    เกียรตินิยมอันดับ 1 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

    ตารางการออกตรวจแพทย์

    วัน เวลาเริ่ม เวลาสิ้นสุด สัปดาห์/เดือน
    จันทร์ 08:00 17:00
    อังคาร 08:00 18:00
    พุธ 08:00 17:00
    พฤหัสบดี 08:00 16:00
    อาทิตย์ 08:00 17:00


    เวลาทำการ

    จันทร์ เวลา    10.00 - 20.00 น.
    อังคาร - พฤหัสบดี เวลา    10.00 - 17.00 น.
    ศุกร์ เวลา    10.00 - 20.00 น.
    อาทิตย์ที่1 , อาทิตย์ที่3 เวลา    09.00 - 15.00 น.


    วันและเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขอสงวนสิทธิ์ในการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือนัดหมายแพทย์ล่วงหน้า โทร. 0-2431-0054,0-2117-4999 ต่อ 2138,2120


    แพ็กเกจและโปรโมชั่น