ภาวะนอนกรนหรือ หยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้นในขณะนอนหลับ ทำให้ออกซิเจนในอากาศเคลื่อนผ่านเข้าไปลำบาก เมื่อร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอมีอาการสะดุ้งตื่นตอนกลางคืนโดยอัตโนมัติแล้วจึงหลับต่อ ซึ่งการสะดุ้งตื่นแบบนี้จะเป็นไปตลอดทั้งคืน ทำให้นอนหลับไม่เต็มที่ อาการนอนกรนหากไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวันและโรคต่างๆ ตามมาได้ เช่น ทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบและเสียชีวิตได้
ภาวะนอนกรนหรือ หยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้นในขณะนอนหลับ ทำให้ออกซิเจนในอากาศเคลื่อนผ่านเข้าไปลำบาก เมื่อร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอมีอาการสะดุ้งตื่นตอนกลางคืนโดยอัตโนมัติแล้วจึงหลับต่อ ซึ่งการสะดุ้งตื่นแบบนี้จะเป็นไปตลอดทั้งคืน ทำให้นอนหลับไม่เต็มที่ อาการนอนกรนหากไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวันและโรคต่างๆ ตามมาได้ เช่น ทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบและเสียชีวิตได้
- นอนกรนเสียงดังเป็นประจำ
- สะดุ้งตื่น หรือหายใจไม่สะดวกขณะหลับ
- ง่วงนอนบ่อย รู้สึกนอนหลับไม่เต็มอิ่ม หรือง่วงนอนตอนกลางวันประจำ
- หลับในขณะขับรถ
- มึนงง ปวดศีรษะเรื้อรัง
เพื่อค้นหาความผิดปกติของการนอนหลับ (Polysomnogram or Sleep test) โดยจะทำการตรวจในช่วงเวลากลางคืนประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะต้องนอนโรงพยาบาล 1 คืน ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวัดคลื่นสมอง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจวัดลมหายใจ ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ตรวจเสียงกรน ตรวจท่านอนและ ตรวจวัดความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือด ประมวลผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปสู่การรักษาต่อไปจัดระดับความรุนแรงของการหยุดหายใจ