การผ่าตัดเส้นฟอกไต แต่ละแบบเป็นอย่างไร ?
เส้นฟอกไต หรือ เส้นฟอกเลือด มีด้วยกันอยู่ 3 แบบ
1. เส้นฟอกเลือดที่แขนชนิดเส้นเลือดจริง (Arteriovenous fistula หรือ AVF)
คือ การผ่าตัดเชื่อมหลอดเลือดแดงกับหลอดเลือดดำ เพื่อให้หลอดเลือดดำความแข็งแรง โดยมีผนังหลอดเลือดหนา และใหญ่ขึ้น รวมทั้งมีเลือดไหลเวียนมากขึ้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายหลอดเลือดแดง เพื่อใช้เป็นจุดในการแทงเข็มฟอกเลือด
โดยที่การทำ AVF จะมีภาวะแทรกซ้อนและโอกาสการติดเชื้อน้อยกว่า และสามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าเส้นฟอกเลือดแบบอื่นๆ แต่ต้องใช้เวลาในการรอให้เส้นพร้อมใช้งาน
2. เส้นฟอกเลือดที่แขนชนิดเส้นเลือดเทียม (Arteriovenous graf หรือ AVG)
คือ การผ่าตัดเชื่อมหลอดเลือดแดงกับหลอดเลือดดำโดยอาศัยการเชื่อมกับเส้นเลือดเทียม ในกรณีที่เส้นเลือดจริงของผู้ป่วยมีขนาดเล็กไม่เหมาะสมสำหรับการแทงเข็มฟอกเลือด
สามารถใช้งานได้เร็วกว่า AVF แต่มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าการใช้เส้นจริง และราคาสูงกว่า
3. สายสวนหลอดเลือดแบถาวร (Permanent catheter)
คือ การใส่สายขนาดใหญ่ไปในหลอดเลือดดำใหญ่ของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถนำเลือดปริมาณมากเข้าเครื่องฟอกเลือดหรือเครื่องไตเทียมได้รวดเร็ว
ข้อดี คือ สามารถใช้ได้ทันทีหลังใส่สายเสร็จ
ข้อเสีย คือ ถ้าใช้ไปนานๆ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดดำใหญ่อุดตัน และมีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าชนิดอื่น
นัดหมายอายุรแพทย์โรคไตเทียมได้ที่ #ศูนย์ไตเทียม ชั้น 5 อาคารพรีเมียม โทร. 0-2117-4999 ต่อ 2500-2502