ทารกแรกเกิดจำนวน 3 ใน 1000 ราย มีความพิการทางการได้ยินหรืออาการหูตึงมาแต่กำเนิด ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการโดยรวม และโดยเฉพาะการพูด ที่ส่งผลให้เด็กมีโอกาสเป็นใบ้สูงขึ้น ถ้าไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย และฟื้นฟูบำบัดทันเวลา
ปัจจุบันด้วยความเจริญทางเทคโนโลยีก้าวหน้า สามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด และหากสงสัยว่าหูหนวกหรือหูตึง ควรตรวจยืนยันภายในเวลา 6 เดือนแรก จะทำให้การรักษาและฟื้นฟูบำบัดโดยใช้เครื่องช่วยการได้ยิน และสอนพูดได้ทันเวลา เพื่อไม่ให้อาการหูตึง หูหนวก เป็นเหตุให้ไม่สามารถพูดได้ หรือเป็นใบ้ในที่สุด หากพบแพทย์ช้า การฟื้นฟูจะเป็นไปได้ยาก เพราะพัฒนาการทางสมองส่วนการได้ยินจะสูญเสียไปภายใน 2 ขวบ ดังนั้น การฟื้นฟูอาการหูตึงในเด็กแรกเกิด ควรทำตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ขวบ เนื่องจากจะสามารถเสริมทักษะต่าง ๆ ได้ง่าย แต่ถ้าหากอายุเกิน 6 ขวบ การฟื้นฟูจะยากหรืออาจไม่เกิดผล เพราะสมองที่พัฒนาการพูดหยุดชะงัก อย่างไรก็ตามหากเด็กไม่ได้ผ่านการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่แรกเกิด ผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการเริ่มต้นได้ อาทิ เด็กไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงหรือพูดด้วย ไม่หัน ไม่รับรู้ ไม่เลียนเสียงพ่อแม่ ออกเสียงไม่ชัดเจน
ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกคลอด โดยวัดการรับรู้ตอบสนองของปลายประสาทรับเสียงในหูชั้นใน (Otoacoustic Emmission) ถ้าไม่ผ่านด้วยเหตุใดก็ตามจะต้องมีการตรวจซ้ำ และยืนยันโดยวัดการได้ยินระดับก้านสมอง (Duditory Brainstem Response) การตรวจดังกล่าวเด็กจะไม่มีการเจ็บปวดใด ๆ เป็นการฟังเสียงตามปกติ และหากตรวจพบความผิดปกติ จะทำการตรวจหาระดับการได้ยินที่ถูกต้อง ณ ความถี่ต่าง ๆ (Auditory Steady State Response) เพื่อจัดเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมแต่ละข้างและเป็นราย ๆ ไป เพราะเด็กที่หูพิการนั้นมีระดับการสูญเสียตั้งแต่น้อยไปถึงรุนแรง
ผู้สูงอายุ กับ อาการหูอื้อ หูตึง เวียนศีรษะ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มักถูกเรียกว่าผู้สูงอายุ และถูกจัดเข้ากลุ่ม “วัยเสื่อม” เมื่อเกิดอาการหูอื้อ หูตึง เวียนศีรษะ ก็มักจะถูกละเลย คิดว่าเสื่อมจากวัย ไม่อาจแก้ไขให้คืนดีได้ คิดว่าเป็นเรื่องธรรมที่จะต้องยอมรับ โดยมิได้มีความเข้าใจเรื่องการเสียการได้ยิน และโดยเฉพาะการเสียทรงตัวในผู้สูงอายุ ว่าเป็นเรื่องซับซ้อนที่อาจมีหลายเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายและอาจป้องกันได้ อาจแก้ไขให้ฟื้นคืนดีได้ อย่างไรก็ตาม การแพทย์ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันได้มีการให้ความสนใจผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีบริการตรวจวินิจฉัยให้การรักษาผู้สูงอายุมากขึ้น
การแพทย์ในสาขาผู้สูงอายุเป็นเรื่องซับซ้อนและละเอียดอ่อน เนื่องจากโรคของผู้สูงอายุ ยากจะจำกัดอยู่ ณ อวัยวะเดียวของร่างกาย แต่มักพบความผิดปกติของหลายอวัยวะร่วมกัน ร่วมกับการมีโรคทางกายอื่น ๆ เรื้อรังหรือทับซ้อน รวมทั้งการเสื่อมโดยธรรมชาติ ทำให้การให้การวินิจฉัยและการดูแลรักษายากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำเป็นต้องเข้าใจปัจจัยร่วมต่าง ๆ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการดูแลรักษาผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเสียสมรรถภาพการทรงตัว หรือเกิดอาการเวียนศีรษะ รวมทั้งการเสื่อมการได้ยิน เป็นเรื่องที่พบบ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และมักได้รับการละเลยว่าเนื่องจากอายุมากแล้ว ทั้ง ๆ ที่ความผิดปกติหลายอย่างอาจป้องกันได้ และแม้เกิดขึ้นแล้วก็อาจรักษาให้หายได้ หรือแก้ไขให้ทุเลา รวมทั้งการฟื้นฟูบำบัดให้กลับฟื้นคืนดีได้ ยิ่งกว่านั้น อาการเวียนศีรษะในผู้สูอายุอาจมีสาเหตุจากโรคแฝงทางร่างกายหรือโรคทางสมอง ซึ่งอาจร้ายแรงเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ภาวการณ์ขาดเลือดของสมองและหูชั้นใน การผิดปกติของกระดูกคอไปทับเส้นเลือดในสมอง
ชื่อแพทย์ :
นายแพทย์ อรรถกร มีเนตรขำ
ความชำนาญเฉพาะทาง :
หู คอ จมูก
คุณวุฒิ :
วุฒิบัตรโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แพทยศาสตรบัณฑิต
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วัน | เวลาเริ่ม | เวลาสิ้นสุด | สัปดาห์/เดือน |
---|---|---|---|
จันทร์ | 08:00 | 17:00 | |
อังคาร | 08:00 | 20:00 | |
พฤหัสบดี | 08:00 | 20:00 | |
อาทิตย์ | 08:00 | 17:00 |
ชื่อแพทย์ :
นายแพทย์ พัลลภ ศิริบุญคุ้ม
ความชำนาญเฉพาะทาง :
หู คอ จมูก
คุณวุฒิ :
วุฒิบัตร อนุสาขานาสิกวิทยาและโรคภูมิแพ้ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
วุฒิบัตรโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
วัน | เวลาเริ่ม | เวลาสิ้นสุด | สัปดาห์/เดือน |
---|---|---|---|
จันทร์ | 17:00 | 20:00 | |
อาทิตย์ | 17:00 | 20:00 |
ชื่อแพทย์ :
นายแพทย์ ภาวิต พูนภักดี
ความชำนาญเฉพาะทาง :
หู คอ จมูก
คุณวุฒิ :
วุฒิบัตรโสต ศอ นาสิก ลาริงซวิทยา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัน | เวลาเริ่ม | เวลาสิ้นสุด | สัปดาห์/เดือน |
---|---|---|---|
อังคาร | 08:00 | 16:00 | |
พุธ | 08:00 | 20:00 | |
ศุกร์ | 08:00 | 20:00 | |
เสาร์ | 08:00 | 12:00 |
ชื่อแพทย์ :
แพทย์หญิง พรรณทิพา สมุทรสาคร
ความชำนาญเฉพาะทาง :
หู คอ จมูก
คุณวุฒิ :
วัน | เวลาเริ่ม | เวลาสิ้นสุด | สัปดาห์/เดือน |
---|---|---|---|
อาทิตย์ | 13:00 | 16:00 | สัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของเดือน |
เวลาทำการ
จันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 09.00 – 20.00 น.
ศุกร์ สัปดาห์ 1,3,5 เวลา 09.00 - 20.00 น./สัปดาห์ที่ 2,4 เวลา 09.00 - 17.00 น.
เสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
อาทิตย์ เวลา 09.00 - 19.00 น.
วันและเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขอสงวนสิทธิ์ในการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือนัดหมายแพทย์ล่วงหน้า โทร. 0-2117-4999, 0-2431-0054 ต่อ 2240,2241