โรคจิตเวช คือ กลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลนั้นเกิดความทุกข์ทรมานหรือมีความบกพร่องในกิจวัตรต่าง ๆ โรคจิตเวชแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท โดยถือเอาสาเหตุและอาการเป็นตัวกำหนดโรคนั้น โรคจิตเวชที่พบบ่อย ๆ ได้แก่
ปัจจัยที่เร่งให้เกิดอาการ
1. ความผิดปกติในการหลั่งสารเคมีในสมอง สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญยิ่งของร่างกายมนุษย์ สมองมีระบบประสาทที่ใหญ่โตซับซ้อน ทำหน้าที่รับและสื่อสารข้อมูลชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย สมองประกอบด้วยสารสื่อประสาทกว่า 100 ชนิด ที่คอยทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาทในส่วนต่างๆ เมื่อมีสารสื่อประสาทมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็จะมีผลกระทบต่อเซลล์ประสาทในสมอง ทำให้การสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ถูกรบกวน ซึ่งมีผลทำให้เกิดปัญหาด้านจิตใจ อารมณ์ และร่างกาย
2. การที่สมองถูกทำลายและการทำงานของสมองเสื่อมถอย การบาดเจ็บที่สมอง เนื้องอกในสมอง และการติดเชื้อในสมองสามารถทำให้เกิดโรคจิตเวชได้ การกลายพันธุ์ของเซลล์สมองในคนชราสามารถทำให้การทำงานของสมองเสื่อมถอย ทำให้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์
3. ความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมน สตรีบางคนมีอาการซึมเศร้าหลังการคลอดหรือก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากในช่วงนี้การหลั่งฮอร์โมนจะผิดปกติ ฮอร์โมนบางประเภทมีผลต่อความสมดุลทางอารมณ์
4. ความเครียด และความวิตกกังวล มักจะเร่งให้เกิดอาการของโรคจิตเวช คนที่ไม่ยืดหยุ่นหรือเรียกร้องจากตนเองสูง (self-demanading) มักจะทำให้ตนเองต้องมีความกดดันที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ ความกดดันที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญในชีวิต เช่น การสูญเสียญาติ การว่างงาน ความแตกร้าวในชีวิตสมรส การเจ็บป่วยเรื้อรัง และการเป็นหนี้ ก็อาจเป็นตัวเร่งได้
ปัจจัยที่ทำให้อาการป่วยดำเนินต่อไป
1. ไม่ได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสม โรคจิตเวชรักษาได้ เช่นเดียวกับโรคทางกาย และขอแนะนำให้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มป่วยในระยะแรก ๆ แต่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิตเวชและญาติมักไม่อยากยอมรับความจริงว่า บุคคลผู้เป็นที่รักเจ็บป่วยเป็นโรคนั้น ๆ บางคนถึงหันไปใช้วิธีทางไสยศาสตร์เพื่อรักษาโรค ซึ่งเป็นผลทำให้ไปรับการรักษาโรคอย่างเหมาะสมล่าช้า บางคนที่ไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับยาที่ใช้รักษาทางจิตเวช มีความเชื่อผิด ๆ ว่ายาเหล่านั้นเป็นผลเสียต่อร่างกาย และอาจทำให้ติดได้ พวกเขาจึงเลิกใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน ซึ่งมีผลให้ป่วยซ้ำ
2. บรรยากาศความตึงเครียด ความขัดแย้งในครอบครัว หรือการแสดงออกทางอารมณ์และการสื่อสารที่ไม่ดี ทุกสิ่งข้างต้นก็เป็นปัจจัยที่ทำให้อาการป่วยดำเนินต่อไป หรือรุนแรงขึ้นได้
ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีข้อมูลว่าโรคจิตเวชมักเกิดจากความไม่สมดุลของการหลั่งสารสื่อประสาท แต่ยังไม่มีการทดสอบที่สามารถบ่งชี้ว่าสารสื่อประสาทตัวใดมีปัญหาหรือบอกปริมาณของสารสื่อประสาทชนิดนั้น ๆ ให้แน่ชัดได้ จิตแพทย์วินิจฉัยโรคโดยอาศัยการสังเกตอาการของคนไข้ และการบอกเล่าอาการจากคนไข้และญาติเป็นพื้นฐาน
อย่างไรก็ตามในบางกรณี จะมีการแนะนำการตรวจร่างกายบางชนิด เพื่อที่จะวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น เช่น การตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ การตรวจคลื่นสมองเพื่อแยกโรคลมชัก หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเพื่อแยกโรคบางชนิด ได้แก่ เลือดออกในสมอง เนื้องอก หรือสมองฝ่อ เป็นต้น
โรคจิตเวช เหมือนโรคอื่นๆที่ต้องรักษา และสามารถรักษาให้หายได้ โรคจิตเวชไม่ใช่โรคติดต่อ แต่หากจัดการกับอารมณ์ในแง่ลบในทางที่ผิด ก็จะทำให้คนไข้และผู้อยู่รอบข้างคนไข้เครียดมากขึ้น ดังนั้น คนไข้จึงควรรักษาจิตใจให้มีสุขภาพดี เรียนรู้ที่จะผ่อนคลายและจัดการกับความเครียด การทำเช่นนี้จะลดโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคจิตเวช
ชื่อแพทย์ :
แพทย์หญิง วรงค์พร เจียรวัฒนาวิทย์
ความชำนาญเฉพาะทาง :
จิตเวช
คุณวุฒิ :
วุฒิบัตรจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
วัน | เวลาเริ่ม | เวลาสิ้นสุด | สัปดาห์/เดือน |
---|---|---|---|
เสาร์ | 08:00 | 15:00 | เสาร์ที่ 2 / วันเสาร์ที่ 4 ของเดือน ออกตรวจ 08.00 - 12.00 น. |
อาทิตย์ | 08:00 | 12:00 | อาทิตย์ที่ 2 และ 4 ของเดือน |
ชื่อแพทย์ :
แพทย์หญิง กันยา พาณิชย์ศิริ
ความชำนาญเฉพาะทาง :
จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
กุมารเวช
คุณวุฒิ :
วุฒิบัตรจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วัน | เวลาเริ่ม | เวลาสิ้นสุด | สัปดาห์/เดือน |
---|---|---|---|
พฤหัสบดี | 14:00 | 19:00 | สัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของเดือน |
เวลาทำการ
วันเสาร์,วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 และ 4 เวลา 08.00 - 12.00 น.
วันและเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขอสงวนสิทธิ์ในการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือนัดหมายแพทย์ล่วงหน้า โทร. 0-2117-4999, 0-2431-0054 ต่อ 2138,2120